Home > เครื่องทำกาแฟ > รีวิวเครื่องทำกาแฟสด EXPOBAR

รีวิวเครื่องทำกาแฟสด EXPOBAR

เครื่องทำกาแฟ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องดูแลรักษาและใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีราคาที่แพงมาก เครื่องที่ผมนำมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเครื่องของ EXPOBAR เราจะมาศึกษา เจ้าเครื่องนี้กัน

เมื่อเราเปิดฝาบน เราจะพบถังพลาสติกสีขาวอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถังตัวนี้จะเป็นตัวจ่ายน้ำของเครื่อง ในถังนี้จะต้องเติมน้ำลงไป น้ำที่ใช้ต้องไม่ใช่น้ำก็อก ใช้น้ำสะอาดผ่านการกรองก่อน เรียกว่าต้องเป็นน้ำดื่มบริสุทธิ์ เป็นน้ำที่อุณหภูมิปกติ คุณไม่อยากให้ลูกค้าคุณดื่มน้ำก็อกแน่นอน และ ลูกค้าเศร้าแน่หากคุณใส่น้ำก็อกทำกาแฟให้เขาดื่ม ข้อเสียของการใส่น้ำก็อกจะทำให้เครื่องของคุณมีตะกอนสะสมและพังเร็วขึ้น ตัวถังก็จะมีคราบตะกอนติดอยู่เมื่อใช้ไปนานๆเช่นกัน เป็นคราบหินปูน เจ้าถังนี้คุณต้องหมั่นรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนมีคราบตะไคร่เขียวเกาะนะครับ สายยางที่เห็นสามสายจะเป็นสายดูดน้ำที่จะหมุนเวียนน้ำเข้าไปภายในเครื่องและถ่ายเทน้ำวนมาที่ตัวถัง เป็นระบบการถ่ายเทน้ำของตัวเครื่อง หากเราดึงสายนี้ขึ้นมา เราพบปลายสายข้างหนึ่งมีวัตถุรูปทรงกระบอกยาวกลมเล็กๆ มันคือตัวกรองน้ำเป็นเรซิน มีอายุการใช้งาน 1 ปี เมื่อเราซื้อเครื่องมา จะมีตัวกรองนี้แถมมาเป็นอะไหล่สำรองให้อีก 1 อัน แล้วถ้าตัวกรองหลุดจากสายยางล่ะจะต่อสายไหน หน้าตาทั้งสามสายเหมือนกันเลย ตรงนี้ให้ท่านทำเครื่องหมายที่ชัดเจนไว้ที่ตัวสายซึ่งปกติผู้ขายเครื่องจะทำเครื่องหมายมาให้แต่ถ้าจางไป ก็ทำเครื่องหมายให้ชัดเจนได้  หลายท่านนำเครื่องนี้ไปใช้ จะโทรเข้ามาสอบถามผู้ขายมากว่า ดูดน้ำไม่ขึ้นเลย เกิดอะไรขึ้นกับเครื่อง ตรงนี้ไม่ต้องตกใจครับ เนื่องจากตัวกรองตัวนี้ยังไม่อิ่มน้ำเลยไม่จมน้ำ เราต้องแช่ให้ตัวกรองนี้อิ่มน้ำและตรวจสอบว่าตัวกรองนี้จมน้ำ สายน้ำถึงจะดูดน้ำได้ ด้านล่างของตัวถังพลาสติกสีขาวๆนี้จะมีสปริงคอยจับ เป็นตัวเตือนว่ามีน้ำอยู่เพียงพอหรือเปล่า ซึ่งตัวถังนี้หากคุณขายเยอะ คุณสามารถนำถังน้ำขนาด 5 ลิตร มาตั้งข้างๆแล้วเอาสายสามสายนี้จุ่มลงไปได้ครับ มองจากด้านบนนี้ขวามือ เราไม่ได้แกะออกให้ดูนะครับ ส่วนที่อยู่ทางขวามือเป็นหม้อต้มหรือ Boiler อยู่ภายในครับ
ด้ามจับ ( Holder ) ถ้าใครดู Coffee Master ทางทีวีจะเห็นการทำเปอร์เฟคช๊อต (Perfect Shot ) ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในการทำ กาแฟสด ทำชา หรือทำเปอร์เฟคชอต เราจะใช้ด้ามจับตัวนี้ในการเทใส่ เมล็ดกาแฟสดคั่วบดแล้วหรือใบชา ซึ่งด้ามจับตัวนี้จะต้องใส่ ฟิลเตอร์ (Filter) ก่อน และระดับของการใส่เราจะเห็นขีดอยู่ในวงกลมๆ ของฟิลเตอร์ หากเราใส่เกิน เวลาทำเปอร์เฟค ชอต จะประกอบอุปกรณ์ตัวนี้หรือจะอัดไม่เข้าตัวเครื่อง
 ฟิลเตอร์ (Filter) มีสองแบบ ซิงเกิ้ล Single กับ ดับเบิ้ล Double โดยแบบ ซิงเกิ้ล ใช้กับการทำกาแฟร้อน 8g ส่วนแบบ ดับเบิ้ล ใช้กับการทำกาแฟร้อน 16g
ภาพด้านบนเป็นภาพก่อนเราประกอบด้ามจับเข้าไป ด้านซ้ายเป็นที่สตรีมนม ตีฟองนม ด้านขวาเป็นที่ๆน้ำร้อนไหลออกมา ตรงกลางเป็นช่องสำหรับใส่ สำหรับประกอบด้ามจับเข้าไป สวิตแดงๆเป็นสวิตเปิดปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องใช้ เครื่องจะวอม ( warm) ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ก็อย่าพึ่งใช้เลย ถ้าทดลองหมุนปุ่มของตัวตีฟองนม แล้วไม่มีไอน้ำออกมา แสดงว่าเครื่องยังวอมไม่เสร็จ และก่อนใช้เครื่องทำกาแฟทุกครั้งเราต้องกด ปุ่มทำกาแฟไล่น้ำออกมาก่อน (สำคัญมากห้ามลืมเด็ดขาด)

ภาพด้านบนจะมีตัวหมุนนทางซ้ายและทางขวาสำหรับหมุนทำน้ำร้อน หรือหมุนเพื่อสตรีมนม ปุ่มตรงกลางด้านบนไว้ใช้กดทำกาแฟหรือทำชาหรือทำเปอร์เฟคชอต จากภาพนี้เราจะเห็นการประกอบ ด้ามจับ เข้ากับเครื่องทำกาแฟสด มันจะมีล็อกของมัน เราใส่ในลักษณะช้อนเข้าไปที่ด้านล่างตรงส่วนประกอบที่ตรงกลางเครื่อง ใส่และหมุนเบาๆ ที่อธิบายเบื้องต้น หากเราใส่เมล็ดกาแฟคั่วบด เลยขีดที่กำหนด เราจะประกอบด้ามจับตัวนี้ไม่เข้า ดันไม่เข้าครับ

ด้ามจับหรือในฟิลเตอร์หากมีเมล็ดกาแฟคั่วบดค้างอยู่อย่าเสียบคาไว้กับตัวเครื่องเพราะจะทำให้เมล็ดกาแฟคั่วบดในฟิลเตอร์จับตัวเป็นก้อนแข็งติดอยู่ในฟิลเตอร์ทำให้เราจะใช้อีกครั้งลำบาก ต้องมานั่งแกะออก รูปภาพด้านบนเป็นถังสำหรับโขกทิ้งเมล็ดกาแฟคั่วบดที่ใช้แล้ว เมื่อเราโขกทิ้งแล้วเราต้องเสียบด้ามจับเข้าไว้กับเครื่องตลอดเนื่องจาก มียางอยู่ภายในที่เรียกว่า เรียกว่าโอริง ( O – ring ) ซึ่ง ยางตัวนี้จะเสียเร็ว เพราะการที่เราไม่ต่อด้ามจับเข้ากับเครื่อง จะทำให้ บริเวณส่วนประกอบตรงกลางนี้ที่มียาง โอริง อยู่ ซึ่งร้อน เจอกับอากาศเย็นภายนอก ทำให้ยางร้อนเจอเย็นก็จะเสื่อมเร็ว การประกอบด้ามจับไว้ช่วยรักษาอุณหภูมิและทำให้ยางนี้ไม่เสื่อมสภาพเร็ว

ในส่วนของตัวประกอบหรือช่องประกอบที่เราใส่ด้ามจับเข้าไปที่อยู่ตรงกลางเครื่องนั้น ด้านในจะมียาง เรียกว่าโอริง ดังกล่าว  อายุการใช้งานของยางตัวนี้อยู่ที่ 6-8 เดือน หากยางเสื่อม เราจะพบว่าน้ำกาแฟ หรือ น้ำชา ตอนเราทำกาแฟสดหรือชา มันจะไหลออกมาในบริเวณรอบปากวงกลมของตัวด้ามจับที่เราต่อเข้ากับเครื่องตามรูป อะไหล่ยางโอริงนี้ไม่แพง ราคาอยู่ที่ 200 บาท ผู้ใช้เครื่องก็สามารถที่จะขันน๊อตเปลี่ยนได้เอง แต่หากเรียกช่างมาเปลี่ยน ก็จะมีค่าแรงค่าอะไหล่ ที่แล้วแต่ผู้ให้บริการจะคิดครับ

เครื่องทำกาแฟโดยส่วนมากรับประกัน 1 ปี เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป แต่หากเราเลือกเครื่องทำกาแฟที่มีคุณภาพ เราก็จะใช้ได้นาน เมื่อเกิน 1 ปี แล้ว หากเครื่องเสียก็ขึ้นอยู่กับว่า จุดไหนที่เสื่อม จุดไหนที่เสีย ราคาอะไหล่แต่ละตัวไม่เท่ากัน ผู้ให้บริการก็จะคิดรราคาค่าซ่อมแตกต่างไปตามเคสของการเสียครับ ในส่วนของเครื่องนี้จากการสอบถามรายละเอียดว่าถ้าจะเสีย ส่วนมากจะเสียตรงไหน ได้รับคำอธิบายว่าเป็นเจ้าตัว โอริง ดังกล่าว การประกันเราจะได้เอกสารใบประกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ให้เราจด ซีเรียลเครื่อง Serial Number ( S/N) ไว้ เอกสารนี้ในกรณีของเครื่องนี้ไม่ต้องส่งไปให้บริษัทที่ขายเครื่อง แต่ให้เก็บไว้ใช้ตอนที่เครื่องมีปัญหา

การล้างทำความสะอาดตัวฟิลเตอร์และปากเครื่องที่ใช้ทำกาแฟ เมื่อเราพบคราบ จะมียางตัวเล็กกลมๆ ดังรูป ที่ต้องใส่ เข้าไปที่ ฟิลเตอร์ ซึ่งฟิลเตอร์ต้องประกอบอยู่กับด้ามจับ เพราะวิธีการล้างใช้การเปิดเครื่องทำเปอร์เฟคชอตในการล้าง  การทำคือฟิลเตอร์จะต้องไม่มีผงกาแฟอยู่แต่ใส่เจ้ายางเล็กๆนี้ลงไปแทน และเราใส่กรดผลไม้สำหรับล้างเครื่องทำกาแฟโดยเฉพาะครึ่งช้อนชา ( กรดผลไม้นี้ไม่มีสารตกค้างใดๆ ) แล้วใส่น้ำแทนจากเดิมที่ใส่เมล็ดกาแฟคั่วบดหรือใบชา ต่อจากนั้นเราประกอบด้ามจับเข้ากับตัวเครื่อง กดปุ่มทำกาแฟเพื่อล้าง

เทมเปอร์ (temper ) สำหรับทำกาแฟสด ตัวนี้เรานำมาเอง ไม่ได้แถมกับตัวเครื่อง ที่แถมมากับเครื่องเป็นพลาสติกสีดำ ใช้ตัวนี้จะมีน้ำหนักมากกว่า ใช้กดเมล็ดกาแฟคั่วบดที่อยู่ใน ฟิลเตอร์ ในส่วนของด้ามจับ ก่อนที่จะเสียบด้ามจับเข้าเครื่องทำกาแฟ

หมายเหตุ ราคาขายเครื่องทำกาแฟ Expobar ตัวนี้ ราคาตลาดอยู่ที่ 72,000 บาทเป็นเครื่องอย่างดี ซึ่งอยู่ในเซต แฟรนไชส์แบบ 110,000 นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ อีก อาทิ เครื่องบดเมล็ดกาแฟ Expobar อย่างดี ราคาตลาด 19,000 บาท พร้อมอุปกรณ์จุกจิกทั้งหมดที่ใช้ในการทำกาแฟสด

ท่านสามารถทิ้งข้อมูลติดต่อหากท่านสนใจในแฟรนไชส์ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย ข้อมูลของท่านจะไม่ถูกแสดงและเราจะตอบกลับทางอีเมล์หรือทางโทรศัพท์

  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.

Leave a comment