ชาอินเดีย มีกี่ชนิด?

88148.jpg

 

ชาอินเดีย มีกี่ชนิด?
.
.
ไม่ใช่เพียงแค่ว่า ประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตชามากที่สุดเท่านั้น
.
.
เขตพี้นที่ ที่ใช้ในการปลูกชา ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในที่ที่ดีที่สุด และได้องค์ประกอบที่ครบถ้วนในการปลูกชา ซึ่งมีอยู่ในเกือบทุกภูมิภาค ในประเทศอินเดีย
.
.
ประมาณ 4% ของรายได้ประชาชาติของประเทศอินเดีย มาจากชาของเค้า ที่มีมากกว่า 14,000 นิคมปลูกชา ในอาณาเขตประเทศ
.
.
ภูมิศาสตร์ของประเทศอินเดีย ทำให้มีหลายสภาพภูมิอากาศ ที่แตกต่างกันทำให้ชาที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมีความแตกต่างจากชาที่อื่นๆ
.
.
ชนิดของชาในประเทศอินเดียนั้น ถ้าจะให้นับกันแบบละเอียดจริงๆ ก็จะมีเป็น10ชนิด
.
.
แต่ถ้าหลักๆ ตัวสำคัญๆ ที่ได้รับความนิยมทั้งในประเทศอินเดีย และทั่วทุกมุมโลก จะมีอยู่ 3 ชนิดหลักดังต่อไปนี้:
.
.
.
(1) ชาอัสสัม (Assam Tea)
ชาอัสสัมมาจากส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ตั้งชื่อตามภูมิภาครัฐที่ผลิตขึ้น คือรัฐอัสสัม ภูมิภาคนี้ป่าหนาทึบอุดมสมบูรณ์เป็นบ้านของสัตว์ป่ามากมายมารวมกัน รัฐอัสสัมถือได้ว่าเป็นภูมิภาคสำหรับปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำพรหมบุตร
.
เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศเขตร้อนนี้ ผสมกับช่วงระยะเวลามรสุมของที่นี่ ทำให้เกิดทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ด้วยความชื้นและความร้อนที่รุนแรง ทำให้กลายเป็นคุณลักษณะของชาดำอัสสัมหมักที่ไม่ซ้ำที่อื่น และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีมาช้านาน ส่งออกมากที่สุด และได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก
.
.
.
(2) ชาดาร์จีลิ่ง (Darjeeling Tea)
ชาดาร์จิลิ่งมาจากที่เพาะปลูกในเขตเมืองดาร์จิลิ่ง ซึ่งอยู่ในเขตเบงกอลตะวันตกของประเทศ ภูมิภาคเขตดาร์จีลิ่งนี้จะมีอากาศเย็นและชื้นและปลูกอยู่ตามเชิงเขาหิมาลัย (Himalayans) ทำให้ชารสชาติออกมามีความสวยงามประณีตและหอม และได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในชาที่ดีที่สุดในโลก ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
.
ชาตัวนี้จะมีการผลิตออกมาทุกรูปแบบในขณะนี้ แต่หลักๆจะมาในรูปแบบชาดำหมัก แต่ก็ได้รับความนิยมในรูปแบบ ชาเขียว และ ชาขาว และได้รับขนานนามในอีกชื่อหนึ่งว่า ชาแชมเปน (The Chanpagne Tea)
.
.
.
(3) ชานีลคีรี (Nilgiri Tea)
ชานีลคีรีนี้ปลูกในภาคใต้ของเทือกเขาตะวันตก ในภาคใต้ของอินเดีย ปลูกในหมู่เขาของอำเภอนีลคีรี (Nilgiris) ซึ่งอยู่ในเขตที่สูงกว่าดาร์จิลิ่ง
.
ใบชามีสีเข้ม มีกลิ่นหอม และรสชาติที่เข้มข้นอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีราคาค่อนข้างสูง ถึงขั้นได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกกันเลยทีเดียว ที่$600ต่อกิโล ซึ่งเป็นการประมูลที่ ลาสเวกัสในปี2006 และได้รับขนานนามในอีกชื่อหนึ่งว่า ชาบลูเม้าเท่น (Blue Mountain Tea)
.
.
.
นอกจากนี้ สิ่งที่สร้างความแตกต่าง ของชาที่มาจากอินเดีย ก็คือสไตล์ลักษณะการชงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่คนส่วนใหญ่จะเรียกว่า “จาย” หรือ “Chai”
.
.
หลายท่านจะชอบสอบถามว่า “Chai” หรือ “จาย” เหมือน หรือ แตกต่างกันอย่างไรกับ “ชาอินเดีย” โดยที่จริงแล้วก็คืออย่างเดียวกันนั่นเอง คือเป็นชื่อเรียกของคำว่า “ชา” ในภาษาอินเดียนั่นเอง
.
.
ส่วนสูตรวิธีการชงต่างๆนั้น ก็มีได้หลากหลาย โดยผสม ต้มชากับนมใส่น้ำตาลและเครื่องเทศต่างๆ เช่น อบเชย กานพลู กระวาน ขิง พริกไทย ได้ตามชอบ ชงทานร้อนๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของชาอินเดีย ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

.
.
.
.
.
มาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในตำนานของเรา
COME AND BECOME ONE OF OUR LEGEND.
.
.
.
.
.
ถ้า…
คุณเปิดร้านกาแฟอยู่แล้ว
หรือ
อยากเปิดร้านกาแฟใหม่
.
Add Line คลิ๊ก
==> http://line.me/ti/p/%40theindiantea
.
.
.
.
.
.
PERFECT DESTINY INTERNATIONAL CO., LTD.
บริษัท เพอร์เฟกต์ เดสทินี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
เลขที่ 927/199 ซอยลาดพร้าว87 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

Website: http://www.theindiantea.com/main/index.html#

Line Official ID : @theindiantea (0846825999)

โทร: 084-682-5999 , 092-369-3951

#ชาอินเดีย #กาแฟเปอร์เซีย #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซียแฟรนไชส์ #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซีย #แฟรนไชส์ #theindiantea #theindianteafranchise #franchisethailand #แฟรนไชส์เครื่องดื่ม #แฟรนไชส์กาแฟ #เปิดร้านกาแฟ #ธุรกิจร้านกาแฟ #ขายกาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟโบราณ #สูตรการชงกาแฟ #อยากเปิดร้านกาแฟ

 

13886997_1214778658556542_648180606063022823_n

Categories: กาแฟสด, ข่าวต่างๆเกี่ยวกับกาแฟ, งานแสดงสินค้าและธุรกิจ, ชา, ทำเลเปิดร้าน, ร้านกาแฟ ชาอินเดีย กาแฟเปอร์เซีย, ร้านกาแฟสด, เครื่องทำกาแฟ, เครื่องบดเมล็ดกาแฟ, เบเกอร์รี่, เปิดร้านกาแฟ, เปิดร้านกาแฟสด, เมนูกาแฟ, เมนูกาแฟสด, เสียงตอบรับจากผู้ลงทุน, แผนที่ขยาย, แฟรนไชส์, แฟรนไชส์กาแฟ, แฟรนไชส์กาแฟสด, Uncategorized Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
  1. No comments yet.
  1. No trackbacks yet.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: